Wednesday, 23 October 2024 - 5:17 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120
Wednesday, 23 October 2024 - 5:17 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120

เอสซีจี ย้ำร่วมมือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมภาคีสนับสนุน เปิดตัวโครงการ “รักษ์ทะเล” รวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง นวัตกรรมจาก CPAC 3D Printing Solution

“เอสซีจี” โดย บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิ Earth Agenda พร้อมภาคีสนับสนุน กองทัพเรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดตัวโครงการ “รักษ์ทะเล” รวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง นำเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ จาก CPAC 3D Printing Solution ขึ้นรูปเป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง สร้างต้นแบบนำร่องการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศ ที่มีรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ พร้อมนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญจากพันธมิตร คืนกลับความอุดมสมบูรณ์ให้กับระบบนิเวศแนวปะการัง  โดยเปิดรับสนับสนุนผ่านการระดมทุนผ่านมูลนิธิ Earth Agenda 

โครงการ “รักษ์ทะเล” รวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการัง เป็นโครงการความร่วมมือมุ่งฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์กลับสู่ท้องทะเลไทยที่สร้างความมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และชุมชนคนรุ่นใหม่ ด้วยแนวคิดในการพัฒนาออกแบบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังหรือบ้านปะการัง ภายใต้ความร่วมมือและร่วมบูรณาการองค์ความรู้ วิทยาการและชีววิทยาทางทะเล จากทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการขึ้นรูปปูนซีเมนต์จาก CPAC 3D Printing Solution ที่สามารถพิมพ์ขึ้นรูปวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง หรือบ้านปะการังได้ใกล้เคียงเสมือนจริง เน้นการออกแบบพัฒนาโครงสร้างจากวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สามารถปรับแต่งรูปแบบลักษณะ รวมทั้งความซับซ้อนของช่องว่าง แสงและเงาให้เข้ากับสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณนั้นๆ  ด้วยการพัฒนาคุณสมบัติโดยเฉพาะของหินปูนในเนื้อปูนซีเมนต์ให้มีค่าความเป็นกรดด่างใกล้เคียงกับค่าของน้ำทะเล อันเป็นการช่วยย่นระยะเวลาที่ตัวอ่อนปะการังลงเกาะ เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตสำหรับการปลูกถ่ายปะการัง และใช้ฟื้นฟูตัวเองได้เร็วขึ้น สามารถติดตั้ง ขนย้าย ได้สะดวก ง่าย โดยสามารถเพิ่มลูกเล่นการถอดประกอบชิ้นส่วนได้  ด้วยรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2563 ผลงาน “นวัตปะการัง”  ภายใต้ความร่วมมือโครงการ “รักษ์ทะเล” นี้ ยังได้ดำเนินการเก็บข้อมูลในด้านอุทกกลศาสตร์ ทดสอบการตกตะกอนจากทิศทางของกระแสน้ำบริเวณรอบชิ้นงาน และศึกษาติดตามประสิทธิภาพการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการัง  โดยได้มีแผนดำเนินงานนำร่องในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ จังหวัดภูเก็ต  เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี  เขาหลัก จังหวัดพังงา เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี ตามลำดับ

คุณชนะ ภูมี Vice President – Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี ดำเนินการธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดูแลสังคม และมีบรรษัทภิบาล ตามแนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่ 1. มุ่ง Net Zero 2. Go Green 3. Lean เหลื่อมล้ำ 4. ย้ำร่วมมือ  และมีความเป็นธรรม โปร่งใสทุกการดำเนินการ ที่ผ่านมาเอสซีจี ได้ดำเนินโครงการรักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที ในการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เช่น การทำฝายชะลอน้ำ บ้านปลา การปลูกป่า หญ้าทะเลและป่าชายเลน ฯลฯ “โครงการรักษ์ทะเล” เป็นโครงการที่เอสซีจี มุ่งมั่นในการยกระดับพัฒนานวัตกรรมมาปรับใช้ นอกจากมาตรฐานการอยู่อาศัย ได้ต่อยอดการใช้นวัตกรรมจาก CPAC 3D Printing Solution มาใช้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรของประเทศ อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ให้ความเคารพต่อธรรมชาติและทุกชีวิตในท้องทะเลด้วยบ้านปะการัง ชูจุดเด่น ร่วมออกแบบพัฒนาเทคโนโลยีระดับโลกในการขึ้นแบบจำลอง 3 มิติ  รวมถึงพัฒนาสูตรปูน (Powder Extrusion) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการลงเกาะและการเจริญเติบโตของตัวอ่อนปะการัง จากความร่วมมือในโครงการรักษ์ทะเลนี้ มุ่งหวังสร้างความมีส่วนร่วมจากพันธมิตรทางธุรกิจ เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการและสังคม ในการร่วมสนับสนุนอนุรักษ์เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือกันในอนาคตและสามารถขยายผลอย่างเป็นรูปธรรมได้จริง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนถึงคนรุ่นต่อๆ ไป”

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการ “รักษ์ทะเล” รวมพลังฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลด้วยบ้านปะการังเพื่อให้ท้องทะเลไทยกลับมาสวยงามดังเดิม

spot_imgspot_img
spot_imgspot_img