Thursday, 31 October 2024 - 5:20 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120
Thursday, 31 October 2024 - 5:20 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120

ชวนมารู้จัก ‘การคัดกรองและการสูญเสียการได้ยิน’ สิ่งสำคัญต่อพัฒนาการในเด็กแรกเกิดที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามกับ Cochlear ที่อยากให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงเสียงเพื่อเชื่อมต่อกับโลกได้อย่างสมบูรณ์

การผ่าตัดประสาทหูเทียมคืออะไร เหมือนการใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ หากจะตอบคำถามนี้ คงต้องย้อนกลับไปพูดถึงเหตุของการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวคือ การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งแท้จริงแล้วมีหลายสาเหตุ หลายระดับ และมีแนวทางในการแก้ไขที่ต่างกันไป แต่ในสังคมไทยยังมีการตระหนักรู้และให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองการได้ยินและการสูญเสียการได้ยินในระดับที่ต่ำ จนหลายครั้งยังอาจจะยังมีความเข้าใจผิดว่าการใช้อุปกรณ์อย่างเครื่องช่วยฟังและประสาทหูเทียมเป็นสิ่งเดียวกัน จนกระทั่งเรื่องราวของคุณแสนปิติ สิทธิพันธุ์ หรือ แสนดี ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมกับ Cochlear ได้รับการนำเสนอในพื้นที่สื่อ จึงทำให้หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือคุ้นกับการผ่าตัดประสาทหูเทียมกันมากขึ้น

Cochlear Thailand (คอคเคลียร์ประเทศไทย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีการผ่าตัดประสาทหูเทียมมุ่งเน้นการช่วยให้ผู้ที่สูญเสียการยินในระดับรุนแรงซึ่งไม่ได้รับประโยชน์จากเครื่องช่วยฟังอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นกลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง  สามารถเชื่อมโยงกับผู้อื่นและใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ Cochlear  ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการได้ยิน รวมไปถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้คนในสังคมไทยได้รู้จักกับปัญหาการสูญเสียการได้ยินด้วยความเชื่อที่ว่าคนไทยทุกคนโดยเฉพาะเด็กแรกเกิดควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน

เนื่องจากโอกาสการเกิดการสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยชรา ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากกรรมพันธุ์ การเจ็บป่วยบางอย่าง การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังต่อเนื่องยาวนาน ฯลฯ การตรวจคัดกรองการได้ยินจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้คนทุกช่วงอายุ ไม่ต่างจากการตรวจเช็คสุขภาพอื่น ๆ ที่คนส่วนใหญ่ทำเป็นประจำทุกปี อย่างการตรวจเลือด ตรวจหัวใจ ตรวจตา หรือตรวจฟัน แต่น่าแปลกที่น้อยคนมากที่จะนึกถึงการตรวจสุขภาพหูหรือภาวะการได้ยินซึ่งเป็นภาวะแบบแฝงที่ไม่สามารถมองเห็นได้นอกจากการตรวจเท่านั้น การตรวจคัดกรองการได้ยินจะทำให้เราทราบปัญหาได้เร็ว หาวิธีรักษาที่เหมาะสมได้แต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ จากการสูญเสียการได้ยิน เช่น การสื่อสาร การทำงาน และการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กนั้นควรทำตั้งแต่แรกเกิด และช่วยให้เด็กได้ยินอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้ทันช่วงที่สมองของเด็กจะมีการพัฒนาก่อนอายุ 3 ปี

“ผมได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้สูญเสียการได้ยินในระดับที่รุนแรง ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ และได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมกับ Cochlear ตอนอายุได้ 2 ขวบ ซึ่งมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้ผมเติบโตเหมือนเด็กธรรมดาทั่วไป สามารถสื่อสาร เล่นกีฬา และมีประสบการณ์ชีวิตไม่ต่างจากคนอื่น ๆ มันเป็นสิ่งที่ทำให้ผมได้มีทั้งความหวังและเป้าหมายในชีวิต และเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็นและไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค” คุณแสนปิติ ผู้ได้รับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมกับ Cochlear กล่าว

การสูญเสียการได้ยิน นอกจากจะมีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย และเกิดขึ้นได้ในหลายช่วงอายุแล้ว ยังมีหลายระดับแตกต่างกันไป ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง ซึ่งหากเป็นการสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อย ผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ในการช่วยขยายเสียงได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่หากเป็นการสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงหรือกรณีที่ใช้เครื่องช่วยฟังได้ผลน้อย การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้สามารถกลับมาได้ยินอีกครั้ง อีกทั้งยังช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสาร และทำให้สามารถปรับตัวใช้ชีวิตในสังคมได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าคนทั่วไปได้ ซึ่งการผ่าตัดประสาทหูเทียมของ Cochlear เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังอุปกรณ์ช่วยฟังเข้าไปในหูชั้นในเพื่อทดแทนการทำงานของหูชั้นใน โดยมีเครื่องแปลงสัญญาณเสียงสำหรับสวมใส่ภายนอกที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงที่ส่งต่อไปยังเครื่องรับสัญญาณเสียงที่ผ่าตัดฝัง แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนที่รับการได้ยิน ทำให้เกิดการได้ยินขึ้น ซึ่งในอดีตประสาทหูเทียมเป็นเทคโนโลยีใหม่ทำให้ผู้สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดจะต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อรับการรักษาแต่ในปัจจุบันการผ่าตัดประสาทหูเทียมเป็นวิธีรักษาที่แพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทยรวมถึงแพทย์ในโรงพยาบาลชั้นนำสามารถผ่าตัดได้อย่างชำนาญ ทำให้ผู้ที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงในประเทศไทย มีความหวังที่จะกลับมาได้ยินอีกครั้งด้วยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมที่สามารถรักษาได้ภายในประเทศ

ทั้งนี้ การรักษาด้วยวิธีฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทยก็ยังถือว่ามีต้นทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น นอกจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและรูปแบบการดูแลใหม่ ๆ เพื่อค้นหาแนวทางสนับสนุนที่ดีที่สุดให้แก่ผู้สูญเสียการได้ยินแล้ว Cochlear Thailand ยังขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน และทำให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินในประเทศไทยได้เชื่อมต่อกับผู้อื่นและสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากที่สุด โดยมีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเป็นตัวเลือกในราคาสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ที่สูญเสียการได้ยินที่มีข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่าย สามารถเข้าถึงการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมมากขึ้นด้วยมูลนิธิอนุเคราะห์คนหูหนวก ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (Deaf Thai Foundation) ซึ่งมีโครงการอย่าง “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” เพื่อมอบทุนลดภาระค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดประสาทหูเทียมสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็กอายุ 0-3 ปี

โดยล่าสุด ทางสปสช. ได้มีการเพิ่มบริการการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดทุกคนที่มีสัญชาติไทยภายใต้สิทธิประโยชน์ระบบบัตรทองในปีงบประมาณ 2565 รวมถึงกำลังผลักดันให้สามารถใช้สิทธิในการเบิกจ่ายอุปกรณ์ชุดหูประสาทหูเทียม เพื่อใช้ในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในเด็กอายุไม่เกิน 5 ปีในกรณีที่ตรวจคัดกรองแล้วพบปัญหาสูญเสียการได้ยินด้วย ผู้ปกครองที่สงสัยว่าบุตรหลานมีปัญหาทางการได้ยิน สามารถพาไปโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ หรือคนทั่วไปที่สนใจต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดกรองและการสูญเสียการได้ยิน สามารถติดตาม Cochlear Thailand ได้ที่ Facebook : Cochlear Thailand หรือ www.cochlear.com/th

spot_imgspot_img
spot_imgspot_img