Thursday, 31 October 2024 - 5:20 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120
Thursday, 31 October 2024 - 5:20 am
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120

เปิด 6 เทรนด์ออฟฟิศยุค Post-COVID ปลุกไฟมนุษย์เงินเดือน แนะองค์กรปรับสภาพแวดล้อม-เลือกทำเลเหมาะสม รักษาและดึงดูด New Gen Talent

REDPAPER รายงานข้อมูลและเทรนด์ด้านอสังหาริมทรัพย์ สนับสนุนโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ร่วมกับ นัมเบอร์ส 10 รีเสิร์ช เผย 6 เทรนด์การทำงานที่มนุษย์เงินเดือนหลาก Gen ยุค Post-COVID ต้องการ ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องความ ‘สมดุล’ และ ‘คุณค่า’ ในการใช้ชีวิตด้านต่างๆ รวมถึงชี้รูปแบบออฟฟิศ-อาคารสำนักงานที่ชาวออฟฟิศต้องการเพื่อดึงดูดให้กลับเข้าออฟฟิศ 100% โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่สีเขียว ชั่วโมงทำงาน-พื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่น ตอบโจทย์การทำงานที่หลากหลาย ตั้งอยู่ในโลเคชันที่สะดวกต่อการเดินทาง ใกล้ BTS-MRT และแหล่งไลฟ์สไตล์ เพื่อรักษา Work-life balance แนะองค์กรปรับสภาพแวดล้อม-เลือกทำเลเหมาะสม รักษาและดึงดูดพนักงาน New Gen

รายงานข้อมูลและเทรนด์ด้านอสังหาริมทรัพย์ หรือ REDPAPER ฉบับที่ 3 เรื่อง “เทรนด์ออฟฟิศยุค Post-COVID: ปลุกพลังมนุษย์เงินเดือน ความท้าทายที่นายจ้างต้องรู้ก่อนสายเกินแก้” จัดทำโดย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ FPT ผู้นำในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกของประเทศไทย ร่วมกับบริษัท นัมเบอร์ส 10 รีเสิร์ช จำกัด ในการศึกษาเทรนด์รูปแบบการทำงานและบรรยากาศออฟฟิศที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์ของพนักงานทุกช่วงวัย หลังจากที่ Work from Home กันมาอย่างยาวนาน โดยผลการสำรวจ พบว่า กว่า 71% ของคนทำงานต้องกลับเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศเต็มรูปแบบ 100% และมีหลากหลายเทรนด์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนโควิด ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานกับองค์กรในปัจจุบัน

REDPAPER เผยถึงเสียงเรียกร้องจากมนุษย์เงินเดือนที่ปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับความ ‘สมดุล’ และ ‘คุณค่า’ ในการใช้ชีวิตทุกด้านทั้งด้านงานและส่วนตัว ซึ่งสะท้อนออกมาผ่าน 6 เทรนด์ความต้องการด้านทำงาน ได้แก่ 1. การทำงานที่ไม่เครียด 2. การความก้าวหน้าในอาชีพ 3. การใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล (Work-life balance) 4. การพัฒนาฝึกฝนทักษะใหม่ (Upskill & Reskill) 5. ความสะดวกในการเดินทางและสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในที่ทำงาน 6. การมีเวลาให้กับครอบครัว โดยทั้งหมดนี้ องค์กรต่างๆสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงให้กลุ่มคนทำงานในยุค Post-COVID ผ่านการเลือกอาคารสำนักงานที่มีคุณภาพ ตั้งอยู่ในโลเคชันที่สะดวกต่อการเดินทางหลายรูปแบบ มีสภาพแวดล้อมภายในออฟฟิศที่ดี รวมถึงมีพื้นที่ให้พนักงานได้ผ่อนคลาย เพื่อช่วยลดความเครียดจากการทำงาน  นอกจากนี้ ยังควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ ทักษะ และวิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพนักงานให้สามารถสร้างผลลัพธ์ในการทำงานได้ดี และสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้ REDPAPER ยังเผยถึง 5 สิ่งสำคัญที่ชาวออฟฟิศต้องการในสถานที่ทำงาน ได้แก่ 1.มีพื้นที่สีเขียว เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศและช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น2.นโยบายทำงานในออฟฟิศได้อย่างยืดหยุ่น ไม่กำหนดเวลาทำงานในออฟฟิศตายตัว สามารถเข้างาน-ออกงานได้ตามความเหมาะสม3.มีพื้นที่รับประทานอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวกและผ่อนคลายระหว่างวัน4.มีพื้นที่เปิดโล่ง สามารถเลือกที่นั่งได้ตามชอบ ช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานให้รื่นรมย์ และให้อิสระในการเลือกที่นั่งทำงาน และ5.มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่อย่างชัดเจน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากผลสำรวจครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า พนักงานในยุค Post-COVID ทุกช่วงวัย ให้ความสำคัญกับ 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.สภาพแวดล้อมของออฟฟิศ และ 2.ทำเลที่ตั้งออฟฟิศ มากขึ้น เพื่อสร้างสมดุลให้ชีวิต รักษาไลฟ์สไตล์ที่เคยมีในช่วง Work From Home  และบ่งชี้ว่าพนักงานยังมีแนวโน้มจะเลือกร่วมงานกับองค์กรที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านการทำงานได้อย่างตรงใจมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ที่เพิ่งเริ่มก้าวเข้าสู่วัยทำงาน และเป็นกลุ่มเลือดใหม่ ที่จะมีบทบาทสำคัญต่อองค์กรในอนาคต ดังนั้น เพื่อรักษาและดึงดูด New Gen Talent ให้เข้ามาร่วมงานและคงอยู่กับองค์กร บริษัทต่างๆจึงควรให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นดังกล่าว เพื่อพาองค์กรเติบโตสู่วันข้างหน้าภายใต้รูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนไป

สำหรับรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ สามารถอ่านได้ที่  www.frasersproperty.co.th/th/downloads/redpaper

เกี่ยวกับ REDPAPER

REDPAPER คือรายงานข้อมูลเชิงลึกใหม่จากเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย มุ่งนำเสนอข้อมูล เทรนด์ และความเคลื่อนไหวตามข้อเท็จจริงในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ในประเทศ พร้อมบทความเชิงวิเคราะห์และความคิดเห็นจากผู้นำในตลาด

spot_imgspot_img
spot_imgspot_img