Friday, 22 November 2024 - 2:43 pm
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120
Friday, 22 November 2024 - 2:43 pm
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120

COTTO ตอกย้ำความสำเร็จอีกขั้น เดินหน้าพัฒนา ‘สินค้ารักษ์โลก’ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ 80% ลด CO2 จากการขนส่ง 75% ชูจุดเด่น ‘คุณภาพสูง ดีไซน์สวย ยกระดับที่อยู่อาศัยได้อย่างยั่งยืน’

ในยุคที่เรามักได้ยินเรื่อง “ความยั่งยืน” (Sustainability) อยู่บ่อยๆ แม้ดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ใกล้ตัวกว่าที่คิด จะเห็นได้จาก ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน หรือแม้แต่ระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลายๆ คน หลายๆ องค์กรหันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับการลดการใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง เลือกใช้ทรัพยากรหมุนเวียนหรือวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

COTTO ภายใต้ SCG Decor ผู้นำแบรนด์กระเบื้องและสุขภัณฑ์ชั้นนำของโลก เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ผลักดันโมเดล Circular Economy ตั้งแต่กระบวนการผลิต (Green Process) สู่การพัฒนาสินค้ารักษ์โลก (Green Product) โดยสินค้าทุกตัวจะเน้นการใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ถึง 80% และเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง 75% เพื่อส่งผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุด ขณะเดียวกัน ก็สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม ทั้งในเรื่องของคุณภาพสินค้าที่ใช้งานได้จริงและยืนยาว ควบคู่กับงานดีไซน์สวยงาม นับเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านการอยู่อาศัยได้อย่างยั่งยืน

นายปราปต์ พึ่งรัศมี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด  บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “COTTO ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย NET ZERO Carbon Emission ภายในปี 2050 ตามนโยบายที่วางไว้ โดยเน้นย้ำในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) ตั้งแต่กระบวนการคิด ผลิตไปจนถึงทำลาย ควบคู่ไปกับดีไซน์ที่สวยงาม ตอบโจทย์ในเรื่องของการตกแต่ง และฟังก์ชั่นการใช้งานที่มาพร้อมคุณภาพ มาตรฐานระดับสูง เพื่อยกระดับการชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้นได้ โดยปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเราแบ่งออกเป็น กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังสร้างบ้านและมองหาวัสดุตกแต่งใหม่ๆ  ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีความเป็นตัวเองสูง รวมถึงกลุ่มครอบครัวใหญ่ที่พิถีพิถันและมีความหลากหลาย และกลุ่ม Architecture & Designer ที่จะเน้นฟังก์ชั่นการใช้งาน คุณสมบัติ ที่สามารถตอบตามโจทย์เขาได้”

“ดังนั้น COTTO จึงมีการออกบูธหรือแคมเปญต่างๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายทุกเซ็กเมนต์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น แคมเปญ Built to Last เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการสื่อสารผ่านสินค้า Eco Collection กระเบื้องที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใหม่ 80% โดยการนำ Waste มาเข้าสู่กระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการคิดค้นกระบวนการผลิตสินค้าต่างๆ โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก การใช้พลังงานที่มีคาร์บอนต่ำ การจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการ Waste ให้เกิดมูลค่า ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่มีพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“และล่าสุดใน งานสถาปนิก’67 ที่ผ่านมา นับเป็นการตอกย้ำความสำเร็จอีกขั้นของ COTTO ที่ได้หยิบยกนวัตกรรมวัสดุตกแต่ง (Eco Collection) สรรค์สร้างงานศิลป์ สะท้อน Climate Change ภายใต้คอนเซปต์ COTTO ‘reform the new sustainable result , made by you.’ โดยโจทย์นี้มีสารตั้งต้นมาจากแบรนด์ DNA ของ COTTO ที่ต้องการจะสื่อสารให้เห็นว่า เราสามารถรักษ์โลกไปพร้อมๆ กับ การยกระดับชีวิตให้ดีและเท่ขึ้นได้ด้วย ดังนั้นแก่นสำคัญของงานจะเป็นการส่งต่อมุมมองใหม่ๆ ให้นักออก ซึ่งเป็นผู้นำในการสรรค์สร้างที่อยู่อาศัย ได้ตระหนักถึงการเลือกใช้วัสดุที่นอกจากจะมองเรื่องความสวยงามแล้ว ยังต้องดีต่อโลกด้วย นับเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นได้ ซึ่งกระแสตอบรับเรียกว่าดีเกินคาด ทั้งจากบรรดานักออกแบบ และกลุ่มคนทั่วไป รวมถึงวัยรุ่นยุคใหม่ ที่ทยอยเข้ามาเยี่ยมชมบูธคอตโต้กันอย่างล้นหลาม นับเป็นจำนวนกว่า 5,000 คน”

ปัจจุบัน COTTO มีการนำวัตถุดิบหมุนเวียนมาใช้ในแต่ละปีกว่า 120,000 ตัน (12%) เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่จากธรรมชาติ โดยมีกระบวนการผลิตกระเบื้องผ่านกระบวนการที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียและรีไซเคิลใช้ภายในโรงงานสูงสุด 83% การใช้พลังงานจากชีวมวลทดแทนพลังงานฟอสซิลในการผลิตกระเบื้อง ที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 5,500 ตัน CO2 (1.5% และแผนเพิ่มสัดส่วน 50% ในปี 2030) การใช้พลังงานหมุนเวียนจากโซล่าเซลล์ 21% ในการผลิตสุขภัณฑ์ ก๊อกน้ำ ซึ่งสามารถสร้าง waste to value ได้ปีละ 17,500 ตัน ทั้งนี้หากเทียบกับสินค้าทั่วไป สามารถลดการใช้น้ำได้อย่างน้อยปีละ 23,000 ล้านลิตร (ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 206,500 ตันต่อปี หรือเทียบได้กับการปลูกต้นไม้ 1.2 ล้านต้น) รวมทั้งการเปลี่ยนมาใช้รถ EV forklift แบบ 100% จากกิจกรรมดังกล่าว COTTO ลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งวัตถุดิบได้ประมาณ 75% และลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ประมาณปีละ 32,000 ตัน CO2/ปี (8%/ปี) เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 190,000 ต้นต่อปี

นอกจากนี้ เรายังได้รับเครื่องหมายรับรองด้านมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาทิ Carbon Reduction Label ฉลากลดคาร์บอน Carbon Footprint for Organization (CFO) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆขององค์กร และ Environmental Product Declaration (EPD)  การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของกระเบื้องเอ็กซ์พอร์ซเลน และรายงานผลกระทบที่เป็นสำคัญอย่างน้อย 3 มิติ ได้แก่ Global Warming, Ozone Layer Depletion,  Eutrophication รับรองโดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

“อีกหนึ่งความมุ่งมั่นของ COTTO คือนอกจากการพัฒนาสินค้า โดยคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าต้องใช้ได้จริง ดีไซน์สวย และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมแล้ว เรายังมุ่งเน้นฟังก์ชันต่างๆ ที่จะเพิ่มเข้ามาในอนาคต อาทิ การผลิตกระเบื้องดักจับฝุ่น กระเบื้องกันลื่น สำหรับผู้สูงอายุ และเด็กวัยกำลังซน พร้อมพัฒนาไปถึงกระเบื้องลดกลิ่นสำหรับบ้านที่มีสัตว์เลี้ยง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น และตอบโจทย์ในกลุ่มคนทุก Gen ทุกเทรนด์ ได้อย่างครอบคลุม” นายปราปต์ กล่าวปิดท้าย

spot_imgspot_img
spot_imgspot_img