Friday, 22 November 2024 - 1:10 pm
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120
Friday, 22 November 2024 - 1:10 pm
GDN-corporate-980x120
banner SENTRYSAFE
Ads_980_120

TOTO จับมือ ASA จัดงานใหญ่เพื่อสังคม ดึง “โทโมฮิโกะ ยามานาชิ” สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่นมาบรรยาย หวังสร้างแรงบันดาลใจให้วงการออกแบบไทย

โตโต้ (TOTO) ร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ ตอบสนองพันธกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ผ่านการจัดกิจกรรมบรรยาย “TOMOHIKO YAMANASHI LECTURE: BREAKING THE NORM” โดย คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ผู้ได้รับรางวัลในแวดวงสถาปนิกมากมาย หวังจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับวงการออกแบบของไทย

คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ

สืบเนื่องจากปรัชญาของผู้ก่อตั้งบริษัทโตโต้ ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายสินค้าและอุปกรณ์ภายในห้องน้ำอันดับ 1 ที่มีประวัติยาวนานมากกว่า 100 ปี มุ่งมั่นที่จะ “สร้างสรรค์การใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น” อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องต่อวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมโลกของ TOTO (TOTO Global Environmental Vision) ที่ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในทุกมิติ ทั้งด้านความสะอาดและความสะดวกสบาย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมีสัมพันธ์อันดีกับผู้คนในสังคม โดยเฉพาะกิจกรรมเพื่อสังคมที่บริษัท โตโต้ มีแนวคิดที่จะเป็นสะพานเชื่อมในการส่งผ่านรวมถึงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดของสถาปนิกและนักออกแบบ ด้วยเหตุนี้จึงได้ก่อตั้ง TOTO Gallery Ma ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นแกลเลอรีที่จัดแสดงผลงานของสถาปนิกและนักออกแบบซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมการบรรยายสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจสถาปัตยกรรมทั้งในประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มธุรกิจของ TOTO ยังประเทศต่างๆ

เพื่อตอบสนองนโยบายและวิสัยทัศน์อันดีนี้ บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด จึงร่วมมือกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมบรรยาย “TOMOHIKO YAMANASHI LECTURE: BREAKING THE NORM” ขึ้นในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน ชั้น 7 โดยได้รับเกียรติจาก คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ (Mr. Tomohiko Yamanashi) สถาปนิกชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น ผู้ได้รับรางวัลในแวดวงสถาปนิกมากมาย มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ แง่มุม และแนวความคิดในการออกแบบโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร NBF OSAKI BUILDING (2011) ที่ได้รับรางวัล AIJ prizes (2014) โดยนำเทคโนโลยี “BIOSKIN” ระบบช่วยระบายความร้อนของอาคารมาใช้ในการออกแบบ อากาศโดยรอบอาคารจะเย็นลงโดยใช้ความร้อนจากการระเหยกลายเป็นไอของน้ำฝน ที่หมุนเวียนสะสมอยู่ในท่อเซรามิก ช่วยลดภาระเครื่องปรับอากาศในการทำความเย็นภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับว่าเป็นการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงไว้ซึ่งความสวยงามที่มองเห็นได้จากภายนอกโดยคำนึงถึงผู้คนในสังคมเป็นสำคัญ

NBF OSAKI BUILDING (2011) Photo by Harunori Noda [Gankosha]

“ส่วนตัวแล้ว ในด้านการออกแบบผมจะให้ความสำคัญกับ 3 สิ่งด้วยกัน” คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ กล่าว “อันดับแรกคือ การคำนึงถึงลูกค้า เนื่องจากว่าสถาปนิกเป็นผู้ได้รับการขอร้องจากลูกค้า อันดับที่ 2 คือคิดถึงบริษัท Nikken Sekkei แต่อย่างไรก็ตามผลงานที่เราสร้างนั้นจะดำรงอยู่ในสังคม ดังนั้นสถาปนิกจำเป็นต้องคำนึงถึงสังคมด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ได้สร้างความหมายใหม่ พร้อมกับการแก้ปัญหาให้กับสังคม”

HOKI MUSEUM (2010) Photo by Harunori Noda [Gankosha]

นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ ยังพูดถึงโครงการที่โดดเด่นและได้รับรางวัลด้านการออกแบบหลายรางวัลด้วยเช่นกัน อย่าง โครงการ HOKI MUSEUM (2010) ที่ได้รับรางวัล JIA Grand Prix (2011) ผลงานดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์ และสร้างความรู้สึกน่าสนใจให้กับผู้ที่พบเห็น

“ในตอนที่พิพิธภัณฑ์ HOKI เปิดใช้งานแล้ว ผมรู้สึกถึงความสำเร็จมากกว่าตอนที่เพิ่งสร้างเสร็จ ราวกับว่าผมเป็นผู้ที่ถ่ายทอดผลงานภาพเสมือนจริงที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นด้วย ผมมีโอกาสได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์ที่กล่าวว่า มูลค่าของภาพวาดเสมือนจริงเหล่านั้น เพิ่มขึ้นตั้งแต่ที่พิพิธภัณฑ์ HOKI สร้างเสร็จ อย่างที่ได้กล่าวไป ผมมีความสุขกับสถาปัตยกรรมที่เราได้สร้างความหมายใหม่ให้สังคม สำหรับผลงานด้านสถาปัตยกรรมแล้ว แม้คนที่ไม่อยากมองก็ยังต้องเห็นอยู่ดี แม้คนที่ไม่อยากดูก็ยังต้องใช้งานอยู่ดี ดังนั้นผมเชื่อว่าการออกแบบที่ดีจะเป็นสิ่งที่สามารถให้ความหมายและคุณค่าใหม่ๆ แก่สังคมได้”

MOKUZAI KAIKAN (2009) Photo by Harunori Noda [Gankosha]

นอกจากนี้ ภายในงานบรรยายยังมีการกล่าวถึงผลงานของคุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ อีกหลายโครงการ อาทิ JIMBOCHO THEATER (2007), MOKUZAI KAIKAN (2009), TOHO GAKUEN SCHOOL OF MUSIC (2014), ON THE WATER (2015) ฯลฯ ซึ่งได้รับกระแสตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างดี

ON THE WATER (2015) Photo by Harunori Noda [Gankosha]

นาย ทาคายะสุ ชิมาดะ ประธานบริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในหัวเรือใหญ่ของการจัดงานในครั้งนี้ เปิดเผยว่า บริษัท โตโต้ เชื่อมั่นว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นตามปรัชญาของบริษัทฯ และเป็นหนึ่งสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละประเทศได้ การที่บริษัท โตโต้ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมในประเทศที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ทำให้ TOTO เข้าใจและเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในประเทศนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้ง รวมถึงในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน

นาย ทาคายะสุ ชิมาดะ

ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าวในการเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสถาปนิกชาวญี่ปุ่น และวงการออกแบบในประเทศไทย บริษัท โตโต้ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ร่วมมือกับทางสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อวงการออกแบบภายในประเทศอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านความบันเทิงอย่างการสนับสนุนกิจกรรม งานวิ่ง ASA Run ซึ่งทางบริษัท โตโต้ เองก็สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดงานทั้งในปี 2018 และ 2019 ตลอดจนกิจกรรมที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ เช่น การพาชมโรงงานผลิตภัณฑ์ของทาง TOTO การจัดงานประกวดออกแบบห้องน้ำ “TRANSIT CENTER DEVELOPMENT 2019”  และ “THE BANGKOK TOILET DESIGN 2022” ที่เปิดโอกาสให้สถาปนิกและนักศึกษาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสแสดงฝีมือในด้านการออกแบบห้องน้ำสาธารณะ งานสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับ Universal Design หรือการออกแบบเพื่อทุกคน รวมถึงก่อนหน้านี้ยังเคยร่วมกันจัดงาน Shigeru Ban Lecture 2019 ซึ่งได้รับความสนใจและได้รับผลตอบรับจากผู้คนในแวดวงสถาปัตยกรรมและการออกแบบเป็นอย่างดี จนทำให้เกิดการจัด Architect Talk ขึ้นอีกครั้งในปีนี้ นั่นคือกิจกรรมงานบรรยาย “TOMOHIKO YAMANASHI LECTURE: BREAKING THE NORM”

(จากซ้าย) นาย ทาคายะสุ ชิมาดะ, คุณ โทโมฮิโกะ ยามานาชิ และ นาย ชนะ สัมพลัง

นาย ชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “การเชิญสถาปนิกชื่อดังจากต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างโอกาสให้สถาปนิกไทยได้พบปะกับสถาปนิกระดับโลกที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถมากมาย น่าจะเป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่เข้าฟังได้เป็นอย่างดี และไม่ใช่เพียงแค่มีประโยชน์ต่อวงการออกแบบเท่านั้น แต่ยังมีคุณูประการที่สำคัญต่อผู้คนในสังคม ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และผลักดันให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือพันธกิจของทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ และทางบริษัท โตโต้ ยึดถือในการดำเนินงานมาโดยตลอด”

TOHO GAKUEN SCHOOL OF MUSIC (2014) Photo by Harunori Noda [Gankosha]

“บริษัท โตโต้ เชื่อว่าคุณค่าและความหลากหลายของผลงานที่ได้จากสถาปัตยกรรมจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต บริษัทฯ จึงมุ่งหวังที่จะเป็นสะพานเชื่อมเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ตลอดจนแนวคิดของสถาปนิกและนักออกแบบ ระหว่างสถาปนิกในประเทศไทย และสถาปนิกชาวญี่ปุ่น รวมถึงบทบาทของสถาปนิกที่มีต่อผู้คนในสังคม” นาย ทาคายะสุ ชิมาดะ กล่าวปิดท้าย

เกี่ยวกับ “โตโต้” (TOTO)

บริษัท โตโต้ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น “โตโต้” (TOTO) เป็นผู้ผลิตสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ห้องน้ำรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยตลอดระยะเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา “TOTO” ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์หรูหราในห้องน้ำ ซึ่ง “TOTO” ได้ทุ่มเทค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหนึ่งในปรัชญาขององค์กรคือ สร้างสรรค์การใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบและสะดวกสบาย ด้วยความพรั่งพร้อมและบริการด้านสุขภัณฑ์ให้กับคนทั่วโลก ดังนั้น พนักงานทุกคนจึงยึดหลักนี้มาใช้ในการทำงานทุกกระบวนการ ตั้งแต่งานวิศวกรรมและการออกแบบเพื่อการผลิตและการขาย เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าแบรนด์ “TOTO” มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น “TOTO” เป็นผู้ชนะรางวัลทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม และคาดหวังให้ผู้บริโภคได้รับความเพลิดเพลินกับเทคโนโลยีต่างๆ ในห้องน้ำ ซึ่ง “TOTO” เชื่อว่าเครื่องสุขภัณฑ์ที่ดีและมีคุณภาพจะสร้างประสบการณ์ใหม่และเสริมความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง

spot_imgspot_img
spot_imgspot_img